กิจกรรม24 ธันวาคม



ตอบ. ข้อ 3.
อธิบาย -
วงแหวนแห่งไฟ (อังกฤษPacific Ring of Fire หรือ the Ring of fire) เป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร และวางตัวตามแนวร่องสมุทร แนวภูเขาไฟและบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดยมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนแห่งไฟทั้งหมด 452 ลูก และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่กว่า 75% ของภูเขาไฟคุกกรุ่นทั้งโลก[1] ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า circum-Pacific belt หรือ circum-Pacific seismic belt


วงแหวนแห่งไฟเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่และการชนกันของแผ่นเปลือกโลก[4] แบ่งเป็นส่วนวงแหวนทางตะวันออก มีผลมาจากแผ่นนาซคาและแผ่นโคคอส ที่มุดตัวลงใต้แผ่นอเมริกาใต้ส่วนของแผ่นแปซิฟิกที่ติดกับแผ่นฮวนดีฟูกา ซึ่งมุดตัวลงแผ่นอเมริกาเหนือ ส่วนทางตอนเหนือที่ติดกับทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นแปซิฟิก มุดตัวลงใต้บริเวณเกาะเอลูเชียนจนถึงทางใต้ของประเทศญี่ปุ่น และส่วนใต้ของวงแหวนแห่งไฟเป็นส่วนที่มีความซับซ้อนของแผ่นเปลือกโลก มีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กมากมายที่ติดกับแผ่นแปซิฟิก ซึ่งเริ่มตั้งแต่หมู่เกาะมาเรียน่า ประเทศฟิลิปปินส์เกาะบัวเกนวิลเล ประเทศตองกา และประเทศนิวซีแลนด์ แนววงแหวนแห่งไฟยังมีแนวต่อไปเป็น แนวอัลไพน์ ซึ่งเริ่มต้นจากเกาะชวา เกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย รอยเลื่อนที่มีชื่อเสียงที่ตั้งบนวงแหวนแห่งไฟนี้ ได้แก่ รอยเลื่อนซานอันเดรียส ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กอยู่เป็นประจำ รอยเลื่อนควีนชาร์ลอตต์ ทางชายฝั่งตะวันตกของหมู่เกาะควีนชาร์ลอตต์ รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 3 ครั้ง ได้แก่ แผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์เมื่อ ค.ศ. 1929 แผ่นดินไหวขนาด 8.1 ริกเตอร์ในปี ค.ศ. 1949 (แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศแคนาดา) และแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ริกเตอร์ในปี 1970[5]



ตอบ. ข้อ 2.
อธิบาย -
มาตราริกเตอร์ (อังกฤษRichter magnitude scale) เป็นมาตรที่ใช้กำหนดขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหว เสนอขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1935 โดยนักวิทยาแผ่นดินไหวสองคน คือ เบโน กูเทนเบิร์ก (Beno Gutenbrg) และ ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ (Charles Francis Richter)
เดิมนั้นมีการกำหนดมาตรานี้เพื่อใช้วัดขนาดของแผ่นดินไหวในท้องถิ่นทางใต้ของแคลิฟอร์เนียในสหรัฐอเมริกา ที่บันทึกได้ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องวัดความไหวสะเทือน (seismograph) แผ่นดินไหวที่มีขนาดน้อยที่สุดในเวลานั้นถือเป็นค่าใกล้เคียงศูนย์ มาตราดังกล่าวแบ่งเป็นระดับ โดย ทุกๆ 1 ริกเตอร์ที่เพิ่มขึ้น แสดงว่าแผ่นดินไหวแรงขึ้น 10 เท่า
มาตราริกเตอร์ไม่มีขีดจำกัดว่ามีค่าสูงสุดเท่าใด แต่โดยทั่วไปกำหนดไว้ในช่วง 0 - 9
ภายหลังเมื่อเครื่องวัดความไหวสะเทือนมีความละเอียดมากขึ้น สามารถวัดขนาดของแผ่นดินไหวได้ละเอียด ทั้งในระดับที่ต่ำกว่า 0 (สำหรับค่าที่ได้น้อยกว่า 0 ถือเป็นค่าติดลบ) และที่สูงกว่า 9

[แก้]


ตารางมาตราริกเตอร์

ตัวเลขริกเตอร์จัดอยู่ในระดับผลกระทบอัตราการเกิดทั่วโลก
1.9 ลงไปMicroไม่มี8,000 ครั้ง/วัน
2.0-2.9Minorคนทั่วไปมักไม่รู้สึก แต่ก็สามารถรู้สึกได้บ้าง และตรวจจับได้ง่าย1,000 ครั้ง/วัน
3.0-3.9Minorคนส่วนใหญ่รู้สึกได้ และบางครั้งสามารถสร้างความเสียหายได้บ้าง49,000 ครั้ง/ปี
4.0-4.9Lightข้าวของในบ้านสั่นไหวชัดเจน สามารถสร้างความเสียหายได้ปานกลาง6,200 ครั้ง/ปี
5.0-5.9Moderateสร้างความเสียหายยับเยินได้กับสิ่งก่อสร้างที่ไม่มั่นคง แต่กับสิ่งก่อสร้างที่มั่นคงนั้นไม่มีปัญหา800 ครั้ง/ปี
6.0-6.9Strongสร้างความเสียหายที่ค่อนข้างรุนแรงได้ในรัศมีประมาณ 80 กิโลเมตร120 ครั้ง/ปี
7.0-7.9Majorสามารถสร้างความเสียหายรุนแรงในบริเวณกว้างกว่า18 ครั้ง/ปี
8.0-8.9Greatสร้างความเสียหายรุนแรงได้ในรัศมีเป็นร้อยกิโลเมตร1 ครั้ง/ปี
9.0-9.9Great'ล้างผลาญ' ทุกสิ่งทุกอย่างในรัศมีเป็นพันกิโลเมตร1 ครั้ง/20 ปี
10.0 ขึ้นไปEpicไม่เคยเกิด จึงไม่มีบันทึกความเสียหายไว้0

ที่มา


ตอบ. ข้อ 1.
อธิบาย -
กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน (internal processes) เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในโลกแล้วส่งผลกระทบออกมาสู่พื้นผิวโลก เช่น การขับเคลื่อนตัวของแผ่นธรณีภาค แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น
        
        กล่าวคือ เมื่อความร้อนไหลวนจากแมกมาส่วนที่อยู่ลึกขึ้นสู่ที่สูงจนมาถึงส่วนผิวของแมกมาที่อยู่ใต้แผ่นธรณีภาคจะเกิดการกระจายความ ร้อนและในขณะเดียวกันความร้อนนั้นและแรงดันทำให้พื้นผิวที่เป็นเหมือนฝาครอบอยู่นั้นปริและแตกออกเกิดเป็นเขตแยกตัว (divergent zone) ส่วนที่วงจรการพาความร้อนสองแนวหมุนวนมาเจอกันจะทำให้วัตถุที่เย็นกว่าจมลงไปทำให้เกิดแรงลอยตัว มีวัตถุลอยอยู่บนแมกมา ได้บริเวณที่แนวการพาความร้อนมาปะทะกันเรียกว่าขอบเขตของการรวมตัว (convergent zone) เขตรอยต่อของแผ่นธรณีภาคส่วนใหญ่จะถูกควบคุมโดยกระบวนการไหลวนของความร้อนในชั้นเนื้อโลก  ทั้งขอบเขตแบบแยกตัวและรวมตัวการไหลวนของความร้อนในรูปแบบของการแยกตัวทำให้แผ่นดินหรือพื้นทวีปแยกออกเป็นร่องหรือเป็นแนวทรุดซึ่งเป็นช่องทางให้แมกมาไหลแทรกขึ้นมาเป็นหินบะซอลต์และ ถ้ารอยแตกนั้นขยายกว้างออกไปทำให้หินบะซอลต์แทรกขึ้นมาตามร่องทรุดนั้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็นพื้นมหาสมุทรรุ่นใหม่

      การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาค (plate tectonics) ที่ทราบกันดีว่าโลกไม่ได้หยุดนิ่ง เนื่องจากมีแรงกระทำต่อใต้พื้นผิวโลกเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยมีทั้งการเพิ่มพูนพื้นที่ และการสูญเสียพื้นที่ ทั้งนี้เพราะส่วนบนของโลก ประกอบด้วยแผ่นธรณีภาค (plate) ที่ประกอบด้วยชั้นเปลือกโลกและส่วนบนของชั้นเนื้อโลกตอนบนที่เรียกว่าลิโธสเฟีย (lithosphere) หลายแผ่น แผ่นธรณีภาคเหล่านี้ถูกขับเคลื่อนเบื้องแรกจากแรงไหลทะลักขึ้นมาของหินหลอมเหลวร้อน (magma และ lava) แผ่นธรณีภาคมีการเคลื่อนที่สัมพันธ์กันได้หลายรูปแบบจึงมีรอยต่อระหว่างแผ่นธรณีภาคที่แตกต่างกัน

         จากการศึกษาทางด้านธรณีวิทยา พบว่า หินบริเวณตรงกลางแนวสันเขาใต้น้ำกลางทะเลเป็นหินบะซอลต์ใหม่ มีอายุน้อยกว่าหินที่อยู่ในแนวถัดออกไป จึงมีการตั้งทฤษฎีของแนวสันเขากลางมหาสมุทรว่าเป็นรอยแตกกึ่งกลางมหาสมุทร ซึ่งเป็นรอยแตกของแผ่นเปลือกโลกที่ถูกแรงดันจากหินหนืดภายในเปลือกโลกดันออกจากกันทีละน้อยรอยแยกของแผ่นเปลือกโลกจึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกต่างๆได้


ที่มา



ตอบ. ข้อ 2.
อธิบาย -
แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์การสั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปไม่รู้สึก
แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือนจุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว (focus) มักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล
ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า "จุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว" (epicenter) การสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวนี้จะถูกบันทึกด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า ไซสโมกราฟ โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา จะเรียกว่า "วิทยาแผ่นดินไหว" (อังกฤษ:Seismology)

แผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นจะมีความหนาต่างกัน โดยบางแผ่นมีความหนาถึง 70 กิโลเมตร ในขณะที่บางแผ่น เช่น ส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร จะมีความหนาเพียง 6 กิโลเมตร นอกจากนี้แผ่นเปลือกโลกแต่ละแห่งยังมีส่วนประกอบทางกายภาพและทางเคมีที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แยกออกจากกันหรือชนกัน จะทำให้เกิดการสั่นสะเทือน ที่มีความรุนแรงมากน้อยต่างกัน
แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือบริเวณตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว จะอยู่ที่บริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก โดย 80 เปอร์เซ็นของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น จะเกิดรอบ ๆ มหาสมุทรแปซิฟิก หรือที่รู้จักกันในชื่อ "วงแหวนแห่งไฟ" (Ring of Fire)
ส่วนเขตเกิดแผ่นดินไหวอื่น ๆ นอกจากแนววงแหวนแห่งไฟแล้ว มักจะเกิดในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผ่านแถบประเทศแถบยุโรปตอนใต้ เช่น อิตาลีกรีซ จนถึงแถบอนาโตเลีย ซึ่งคือประเทศตุรกี ผ่านบริเวณตะวันออกกลาง จนถึงเทือกเขาหิมาลัย บริเวณประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถาน จีน และพม่า แต่อย่างไรก็ตาม เคยเกิดแผ่นดินไหวในประเทศอังกฤษ ซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่ในแนวรอยเลื่อนขนาดใหญ่ แต่เป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก ๆ เท่านั้น

ที่มา



ตอบ. ข้อ 1.
อธิบาย -
การบอกอายุของซากดึกดำบรรพ์หรืออายุหิน สามารถบอกได้ 2 แบบคือ
  • อายุเปรียบเทียบ(Relative Age) คืออายุทางธรณีวิทยาของซากดึกดำบรรพ์ หิน ลักษณะทางธรณีวิทยา
หรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา เมื่อเปรียบเทียบกับซากดึกดำบรรพ์ หิน ลักษณะทางธรณีวิทยา หรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาอื่นๆ แทนที่จะบ่งบอกเป็นจำนวนปี ดังนั้นการบอกอายุของหินแบบนี้จึงบอกได้แต่เพียงว่าอายุแก่กว่าหรืออ่อนกว่าหิน หรือซากดึกดำบรรพ์ อีกชุดหนึ่งเท่านั้น โดยอาศัยตำแหน่งการวางตัวของหินตะกอนเป็นตัวบ่งบอก( Index fossil) เป็นส่วนใหญ่ เพราะชั้นหินตะกอนแต่ละขั้นจะต้องใช้ระยะเวลาช่วงหนึ่งที่จะเกิดการทับถม เมื่อสามารถเรียงลำดับของหินตะกอนแต่ละชุดตามลำดับก็จะสามารถหาเวลาเปรียบเทียบได้ และจะต้องใช้หลักวิชาการทางธรณีวิทยา( Stratigraphy )ประกอบด้วย
การศึกษาเวลาเปรียบเทียบโดยอาศัยหลักความจริง มี อยู่ 3 ข้อคือ
1. กฎการวางตัวซ้อนกันของชั้นหินตะกอน(Law of superposition) ถ้าหินตะกอนชุดหนึ่งไม่ถูกพลิกกลับโดยปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแล้ว ส่วนบนสุดของหินชุดนี้จะอายุอ่อนหรือน้อยที่สุด และส่วนล่างสุดจะมีอายุแก่หรือมากกว่าเสมอ
2. กฎของความสัมพันธ์ในการตัดผ่านชั้นหิน(Law of cross-cutting relationship ) หินที่ตัดผ่านเข้ามาในหินข้างเคียงจะมีอายุน้อยกว่าหินที่ถูกตัดเข้ามา
3. การเปรียบเทียบของหินตะกอน(correlation of sedimentary rock) ศึกษาเปรียบเทียบหินตะกอนในบริเวณที่ต่างกันโดยอาศัย
ก. ใช้ลักษณะทางกายภาพโดยอาศัยคีย์เบด(key bed) ซึ่งเป็นชั้นหินที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวของมันเอง และถ้าพบที่ไหนจะต้องสามารถบ่งบอกจดจำได้อย่างถูกต้องถึงว่าชั้นหินที่วางตัวอยู่ข้างบนและข้างล่างของคีย์เบดจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบริเวณด้วย
ข. เปรียบเทียบโดยใช้ซากดึกดำบรรพ์(correlation by fossil) มีหลักเกณฑ์คือ ในชั้นหินใดๆ ถ้ามีซากดึกดำบรรพ์ที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันเกิดอยู่ในตัวของมันแล้ว ชั้นหินนั้น ๆย่อมมีอายุหรือช่วงระยะเวลาที่เกิด ใกล้เคียงกับซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถใช้เปรียบเทียบได้ดี เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ แต่เกิดอยู่กระจัดกระจายเป็นบริเวณกว้างขวางมากที่สุด ฟอสซิลเหล่านี้เรียกว่า ไกด์ฟอสซิลหรือ อินเด็กฟอสซิล(guide or index fossil)
  • อายุสัมบูรณ์( Absolute age ) หมายถึงอายุซากดึกดำบรรพ์ของหิน ลักษณะหรือเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา(โดยมากวัดเป็นปี เช่น พันปี ล้านปี) โดยทั่วไปหมายถึงอายุที่คำนวณหาได้จากไอโซโทปของธาตุกัมมันตรังสี ขึ้นอยู่กับวิธีการและช่วงเวลาครึ่งชีวิต(Half life period)
ของธาตุนั้น ๆ เช่น C-14 มีครึ่งชีวิตเท่ากับ 5,730 ปี จะใช้กับหินหรือ fossil โบราณคดี ที่มีอายุไม่เกิน 50,000 ปี ส่วน U-238 หรือ K-40 จะใช้หินที่มีอายุมาก ๆ ซึ่งมีวิธีการที่สลับซับซ้อน ใช้ทุนสูง และแร่ที่มีปริมาณรังสีมีปริมาณน้อยมาก วิธีการนี้เรียกว่า การตรวจหาอายุจากสารกัมมันตภาพรังสี(radiometric age dating) การใช้ธาตุกัมมันตรังสีเพื่อหาอายุหิน หรือ ฟอสซิล นั้น ใช้หลักการสำคัญคือการเปรียบเทียบอัตราส่วนของธาตุกัมมันตรังสีที่เหลืออยู่( End product) ที่เกิดขึ้นกับไอโซโทปของธาตุกัมมันตรังสีตั้งต้น(Parent isotope)แล้วคำนวณโดยใช้เวลาครึ่งชีวิตมาช่วยด้วยก็จะได้อายุของชั้นหิน หรือ ซากดึกดำบรรพ์ นั้น ๆ 



ที่มา


ตอบ. ข้อ 3.
อธิบาย -

หินปูน Image
หินปูน (อังกฤษlimestone) เป็นหินในกลุ่มหินตะกอน มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่รู้จักกันในหมู่นักธรณีว่าแร่แคลไซต์ (Calcite)(CaCO3) เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์ และซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการัง และกระดองของสัตว์ทะเล ซึ่งถับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผลึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับกรด เนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา ชมพู หรือสีดำ อาจมีซากดึกดำบรรพ์ในหินได้ เช่น ซากหอย ปะการัง ภูเขาหินปูนมักมียอดยักแหลมเป็นหน้าผา และเป็นหินที่ละลายน้ำได้ดี



ที่มา




ตอบ. ข้อ 1.
อธิบาย -
อีสานของไทยในมหายุคมีโซโซอิก 
       ในมหายุคมีโซโซอิก แผ่นดินอีสานเป็นที่ราบลุ่ม  มีแม่น้ำลำธารหลายสายไหลลงจากเทือกเขาอันไกลออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  และยังมีหนองบึงและทะเลสาบน้ำจืดมากมาย ภายใต้สภาพอากาศที่อบอุ่นชื้น ฝนตกชุก ทำให้เกิดเป็นสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ พรรณไม้เกิดเป็นป่าใหญ่ และเต็มไปด้วยต้นไม้แปลก ๆ  จำพวกปรง  เฟิร์น  แปะก๊วย  สน ปาล์ม หลายร้อยชนิด  แต่ยังไม่มีหญ้าและไม้ดอก โดยรอบทะเลสาบ  เฟิร์นและกกมักขึ้นอยู่หนาแน่น  กกแต่ละต้นสูงถึง 4.5 เมตร  ในน้ำก็มีพืชน้ำหลายชนิด 
       สัตว์เลื้อยคลานเริ่มแพร่หลายและขยายพันธุ์มากขึ้นบนแผ่นดิน เพราะสภาพแวดล้อมเหมาะสมในการดำรงชีวิต  และตลอดช่วงเวลา 186 ล้านปีของมหายุคนี้  ได้มีวิวัฒนาการไปอย่างมากมายเป็นสัตว์เลื้อยคลานหลายร้อยชนิด ขนาดที่เคยปรากฏบนโลก มีตั้งแต่เล็กแบบไก่ไปจนกระทั่งใหญ่มหึมา ที่หนักถึง 55 ตัน  ยาวถึง 42 เมตรและสูงถึง 30 เมตร หรือใหญ่กว่าช้างสิบเท่า สัตว์ดังกล่าวรู้จักกันในชื่อของ “ไดโนเสาร์”
       ภาคอีสานของไทย โดดเด่นในเรื่องของซากดึกดำบรรพ์สัตว์เลื้อยคลาน  โดยเฉพาะไดโนเสาร์ ทั้งนี้เพราะพื้นที่เกือบทั้งหมดรองรับด้วยหินตะกอนในมหายุคมีโซโซอิก  ที่เรียกว่า กลุ่มหินโคราช ซึ่งในมหายุคดังกล่าว  คือ  ดินหรือตะกอนที่รองรับหรือฝังซากของสัตว์ที่ตายแล้ว  ต่อมากลายสภาพเป็นหิน  และโผล่ให้เห็นในยุคนี้  เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีของหินที่ปกคลุมอยู่  ดังนั้น  พื้นที่กลุ่มหินโคราชซึ่งเกิดขึ้นในช่าง 3 ยุค  คือ  ยุคไทรแอสซิก        จูแรสซิก  และครีเทเชียส   จึงมีโอกาสพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์มากที่สุด และพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่ปรากฏอยู่ในภาคอีสาน    
  
       ปัจจุบันแหล่งใหญ่ที่พบซากโครงกระดูกไดโนเสาร์ค่อนข้างสมบูรณ์ คือ จังหวัดขอนแก่น (อุทยานแห่งชาติภูเวียง อ.ภูเวียง)  และจังหวัดกาฬสินธุ์  (อ.สหัสขันธ์)  ส่วนจังหวัดอื่น ๆ  ในขณะนี้ยังพบชิ้นส่วนที่กระจัดกระจายหรือซากที่ไม่ค่อยสมบูรณ์  ได้แก่  รอยเท้าและฟันในพื้นที่  จังหวัดเลย  อุดรธานี  สกลนคร  มุกดาหาร  ชัยภูมิ นครราชสีมา และอุบลราชธานี   
       หมวดหินที่พบซากไดโนเสาร์ ในกลุ่มหินโคราช คือ หมวดหินน้ำพอง ภูกระดึง       พระวิหาร เสาขัว ภูพานและโคกกรวด (ภาพที่ 10.2)  โดยจะพบได้มากที่สุดในหมวดหินเสาขัว   ซึ่งในบรรพกาลเป็นที่ราบลุ่มต่ำและหนองบึง รองลงมา  คือ  หมวดหินโคกกรวด ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มในแผ่นดินที่ค่อนข้างแห้งแล้ง

ที่มา


ตอบ. ข้อ 2.
อธิบาย -
บิกแบง (อังกฤษBig Bang หรือ the Big Bang หมายถึง การระเบิดครั้งใหญ่) คือแบบจำลองของการกำเนิดและการวิวัฒนาการของเอกภพในวิชาจักรวาลวิทยาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และจากการสังเกตการณ์ที่แตกต่างกันจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปใช้คำนี้สำหรับกล่าวถึงแนวคิดการขยายตัวของเอกภพหลังจากสภาวะแรกเริ่มที่ทั้งร้อนและหนาแน่นอย่างมากในช่วงเวลาจำกัดระยะหนึ่งในอดีต และยังคงดำเนินการขยายตัวอยู่จนถึงในปัจจุบัน

ทฤษฎีบิกแบงพัฒนาขึ้นมาจากการสังเกตการณ์โครงสร้างเอกภพร่วมกับการพิจารณาทฤษฎีต่างๆ ที่เป็นไปได้ ในปี ค.ศ. 1912 เวสโต สลิเฟอร์ วัดค่าการเคลื่อนของดอปเปลอร์ครั้งแรกของ "เนบิวลาชนิดก้นหอย" (เป็นชื่อเก่าที่เคยใช้เรียกดาราจักรชนิดก้นหอย) และต่อมาก็ค้นพบว่า เนบิวลาแทบทั้งหมดกำลังเคลื่อนที่ออกห่างจากโลก เขามิได้สรุปแนวคิดทางจักรวาลวิทยาจากข้อเท็จจริงนี้ อันที่จริงในช่วงยุคนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มากว่า เนบิวลาเหล่านี้เป็น "เอกภพเกาะ" ที่อยู่ภายนอกดาราจักรทางช้างเผือกหรือไม่[3] สิบปีต่อมา อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน นักจักรวาลวิทยาและนักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซียได้พัฒนาสมการฟรีดแมนขึ้นจากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ แสดงให้เห็นว่าเอกภพกำลังขยายตัวอยู่ ซึ่งขัดแย้งกับแบบจำลองเอกภพสถิตที่ไอน์สไตน์สนับสนุนอยู่[4] ปี ค.ศ. 1924 เอ็ดวิน ฮับเบิล ตรวจวัดระยะห่างของเนบิวลาชนิดก้นหอยที่ใกล้ที่สุด ผลการตรวจแสดงให้เห็นว่า ระบบดาวเหล่านั้นที่แท้เป็นดาราจักรอื่น เมื่อถึงปี ค.ศ. 1927 จอร์จ เลอแมตร์ พระคาทอลิกนักฟิสิกส์ชาวเบลเยียม ทำการพัฒนาสมการของฟรีดแมนโดยอิสระ ผลที่ได้ทำให้คาดการณ์ได้ว่าการถอยห่างของเนบิวลาเป็นผลเนื่องจากการขยายตัวของเอกภพ[5]
ค.ศ. 1931 เลอแมตร์พัฒนางานของเขาคืบหน้าไปอีก และเสนอแนวคิดว่า การที่เอกภพมีการขยายตัวเมื่อเวลาเดินล่วงหน้าไป จะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อเอกภพมีการหดตัวลงเมื่อเวลาเดินย้อนกลับ และจะเป็นเช่นนั้นไปเรื่อยๆ จนกว่าเอกภพจะหดตัวไม่ได้อีกต่อไป ทำให้มวลทั้งหมดของเอกภพอัดแน่นเป็นจุดๆ หนึ่ง คือ "อะตอมแรกเริ่ม" ณ จุดใดจุดหนึ่งของกาลเวลาก่อนที่เวลาและอวกาศจะถือกำเนิดขึ้น ณ จุดนั้นยังไม่มีโครงสร้างของเวลาและอวกาศใดๆ ทฤษฎีนี้สะท้อนความเชื่อเก่าแก่ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับไข่จักรวาล (cosmic egg) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเอกภพ[6]
ทางด้านของฮับเบิลก็พยายามพัฒนาตัวชี้วัดระยะทางหลายรูปแบบนับแต่ ค.ศ. 1924 ซึ่งเป็นการเบิกทางของบันไดระยะห่างของจักรวาล เขาใช้กล้องโทรทรรศน์ฮุกเกอร์ ขนาด 100 นิ้ว (2,500 มม.) ที่หอดูดาวเมาท์วิลสัน ทำให้สามารถประเมินระยะห่างระหว่างดาราจักรได้จากผลการตรวจวัดการเคลื่อนไปทางแดง ซึ่งมีการวัดค่าไว้ก่อนหน้านี้แล้วโดยสลิเฟอร์ ฮับเบิลค้นพบความเกี่ยวพันระหว่างระยะทางกับความเร็วในการเคลื่อนถอยในปี ค.ศ. 1929 ปัจจุบันความสัมพันธ์ข้อนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ กฎของฮับเบิล[7] งานของเลอแมตร์สนับสนุนผลงานชิ้นนี้ และเขาได้สร้างหลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยาขึ้น[8]

ที่มา


ตอบ. ข้อ 2.
อธิบาย -
คำว่า เส้นเวลาของบิกแบง คือประวัติของการเกิดจักรวาลที่สอดคล้องกับทฤษฏีบิกแบง โดยใช้ตัวแปรทางเวลาของจักรวาลในพิกัดเคลื่อนที่ เมื่อพิจารณาตรรกะจากการขยายตัวของเอกภพโดยใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป หากเวลาย้อนหลังไปจะทำให้ความหนาแน่นและอุณหภูมิมีค่าสูงขึ้นอย่างไม่จำกัดขณะที่เวลาในอดีตจำกัดอยู่ค่าหนึ่ง[1] ภาวะเอกฐานเช่นนี้เป็นไปไม่ได้เพราะขัดแย้งกับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป เป็นที่ถกเถียงกันอยู่มากกว่าเราสามารถประมาณภาวะเอกฐานได้ใกล้สักเพียงไหน (ซึ่งไม่มีทางประมาณไปได้มากเกินกว่ายุคของพลังค์) ภาวะเริ่มแรกที่มีความร้อนและความหนาแน่นสูงอย่างยิ่งนี้เองที่เรียกว่า "บิกแบง"[2] และถือกันว่าเป็น "จุดกำเนิด" ของเอกภพของเราจากผลการตรวจวัดการขยายตัวของซูเปอร์โนวาประเภท Ia การตรวจวัดความแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิในไมโครเวฟพื้นหลัง และการตรวจวัดลำดับวิวัฒนาการของดาราจักร เชื่อว่าเอกภพมีอายุประมาณ 13.73 ± 0.12 พันล้านปี[3]จและวิวัฒนาการต่อมาเรื่อย ๆ ซึ่งเราสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะด้วยกัน โดยจักรวาลในระยะแรกเริ่ม, ซึ่งเป็นช่วงที่เรามีความรู้ความเข้าใจน้อยมาก เนื่องจากในช่วงเสี้ยววินาทีแรกของการระเบิดของจักรวาล จักรวาลจะร้อนมากอันเต็มไปด้วยอนุภาค ที่มีพลังงานสูง สูงกว่าอนุภาคที่ถูกเร่งด้วยเครื่องเร่งอนุภาค ส่วนใหญ่ที่มนุษย์เคยสร้างมา นอกจากเครื่องเร่งของสถาบันวิจัย
ระยะต่อมา, จักรวาลระยะแรก, กระบวนการวิวัฒนาการของจักรวาลสอดคล้องกับความรู้ทางอนุภาคฟิสิกส์พลังงานสูง เมื่อมี โปรตอนอิเล็กตรอน และ นิวตรอน ตัวแรกเกิดขึ้นแล้ว ต่อจากนั้นจะรวมตัวกันเป็น นิวเคลียส อะตอม และอะตอมแรกที่เกิดขึ้นคือ อะตอมของไฮโดรเจน อีกทั้งยังมีการแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล
หลังจากนั้นสสารที่เกิดขึ้นริ่มกลายเป็นดาวฤกษ์ ดาราจักร เควซาร์ กระจุกดาราจักร

ที่มา


ตอบ .ข้อ 1.
อธิบาย -

HR-diag-no-text-2.svg
ดาวยักษ์แดง (อังกฤษRed Giant) เป็นดาวฤกษ์มวลน้อยหรือมวลปานกลางขนาดยักษ์ที่ส่องสว่างมาก (มวลโดยประมาณ 0.5-10 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาท้ายๆ ของวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ บรรยากาศรอบนอกของดาวจะลอยตัวและบางมาก ทำให้รัศมีของดาวขยายใหญ่ขึ้นมาก และอุณหภูมิพื้นผิวก็ต่ำ อาจอยู่ที่ประมาณ 5000 เคลวินหรือน้อยกว่านั้น ภาพปรากฏของดาวยักษ์แดงจะมีสีตั้งแต่เหลืองส้มออกไปจนถึงแดง ครอบคลุมระดับสเปกตรัมในชั้น K และ M อาจบางทีรวมถึงชั้น S และดาวคาร์บอนจำนวนมากด้วย
ดาวยักษ์แดงส่วนใหญ่โดยทั่วไปมักเรียกกันเป็น red giant branch stars (RGB) ซึ่งยังมีปฏิกิริยาหลอมไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียมอยู่ แต่ที่แกนกลางจะเป็นฮีเลียมที่ไม่มีปฏิกิริยาแล้ว แต่ยังมีดาวยักษ์แดงอีกพวกหนึ่งคือ asymptotic giant branch stars (AGB) ที่สร้างคาร์บอนจากฮีเลียมด้วยกระบวนการทริปเปิล-อัลฟา ดาวยักษ์แดงประเภท AGB จะเป็นดาวคาร์บอนประเภท C-N หรือ C-R ช่วงปลายๆ
ดาวยักษ์แดงที่สว่างและโดดเด่นในยามค่ำคืน ได้แก่ ดาวอัลดิบาแรน ดาวอาร์คตุรุส และแกมมาครูซิส เป็นต้น ขณะที่ดาวที่ใหญ่ยิ่งกว่านั้นคือดาวอันแตร์ส(อัลฟาสกอร์ปิไอ) และดาวบีเทลจุส เป็นดาวยักษ์ใหญ่แดง (red supergiant)

ที่มา 



ตอบ. ข้อ 1.
อธิบาย -
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น (อังกฤษNuclear fusion) ในทางฟิสิกส์นิวเคลียร์และเคมีนิวเคลียร์ คือกระบวนการที่นิวเคลียสอะตอมหลายตัวมารวมตัวกันกลายเป็นนิวเคลียสอะตอมที่หนักขึ้น และเกิดการปลดปล่อยหรือดูดซับพลังงานในกระบวนการนี้ นิวเคลียสของเหล็กและนิกเกิลมีพลังงานพันธะต่อนิวคลีออนสูงมาก ฟิวชั่นของนิวเคลียสทั้งสองชนิดกับธาตุอื่นที่มีมวลน้อยกว่าเหล็กจะทำให้เกิดการปลดปล่อยพลังงานออกมารุนแรงกว่าที่เหล็กจะดูดซับพลังงานไว้ กระบวนการที่ดำเนินไปในทางกลับกันนี้จะเรียกว่า ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน (Nuclear fission)
โดยมากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นมักเกิดขึ้นในดาวฤกษ์ มนุษย์อาจสร้างเครื่องมือเพื่อผลิตพลังงานฟิวชั่นขึ้นก็ได้ แต่ยังไม่สามารถควบคุมได้อย่างสมบูรณ์ มีการค้นพบฟิวชั่นของนิวเคลียสมวลเบา (ไอโซโทปของไฮโดรเจน) โดย มาร์ก โอลิแฟนท์ ในปี ค.ศ. 1932 ส่วนกระบวนการหลักของการเกิดนิวเคลียร์ฟิวชั่นในดาวฤกษ์มีการศึกษาและอธิบายโดย ฮานส์ เบเท่อ (Hans Bethe) ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษนั้น งานวิจัยนิวเคลียร์ฟิวชั่นเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหารเริ่มต้นในคริสต์ทศวรรษ 1940 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแมนฮัตตัน แต่กว่าจะสำเร็จก็ล่วงมาถึง ค.ศ. 1952 สำหรับการวิจัยนิวเคลียร์ฟิวชั่นเพื่อประโยชน์ทางพลเรือนเริ่มในคริสต์ทศวรรษ 1950 และยังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน

ที่มา


ตอบ. ข้อ 3.
การจัดระดับดาวฤกษ์ของฮาร์วาร์ดเป็นรูปแบบการจัดหนึ่งมิติ แต่ละระดับจะบ่งชี้ถึงอุณหภูมิบรรยากาศของดาวฤกษ์โดยเรียงลำดับจากดาวที่ร้อนที่สุดไปยังดาวที่เย็นที่สุด ดังแสดงในตารางต่อไปนี้ (โดยเปรียบเทียบมวล รัศมี และความส่องสว่างของดาวฤกษ์เทียบกับดวงอาทิตย์)
ระดับอุณหภูมิสีพื้นฐานสีที่ปรากฏ[8][9]มวล
(มวลดวงอาทิตย์)
รัศมี
(รัศมีดวงอาทิตย์)
ความส่องสว่างแถบไฮโดรเจน % ของดาวฤกษ์แถบหลักทั้งหมด[10]
O30,000–60,000 Kน้ำเงินน้ำเงิน64 M16 R1,400,000Lอ่อน~0.00003%
B10,000–30,000 Kน้ำเงิน ถึงน้ำเงินขาวน้ำเงินขาว18 MR20,000 Lปานกลาง0.13%
A7,500–10,000 Kขาวขาว3.1 M2.1 R40 Lเข้ม0.6%
F6,000–7,500 Kขาวออกเหลืองขาว1.7 M1.4 RLปานกลาง3%
G5,000–6,000 Kเหลืองขาวออกเหลือง1.1 M1.1 R1.2 Lอ่อน7.6%
K3,500–5,000 Kส้มเหลืองส้ม0.8 M0.9 R0.4 Lอ่อนมาก12.1%
M2,000–3,500 Kแดงส้มแดง0.4 M0.5 R0.04 Lอ่อนมาก76.45%


ที่มา


ตอบ. ข้อ 1.
อธิบาย -
แถบดาวเคราะห์น้อย (อังกฤษAsteroid belt) เป็นบริเวณในระบบสุริยะที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคาร กับดาวพฤหัสบดี ประกอบไปด้วยก้อนหินจำนวนมากลอยเกาะกลุ่มกันเป็นแถบ เรียกหินเหล่านี้ว่า ดาวเคราะห์น้อย หรือ ดาวเคราะห์แคระ บางครั้งก็เรียกแถบดาวเคราะห์น้อยว่า "แถบหลัก" เพื่อแยกแยะมันออกจากแถบดาวเคราะห์แคระอื่นๆ ที่มีอยู่ในระบบสุริยะ เช่นแถบไคเปอร์ และแถบหินกระจาย
มวลกว่าครึ่งหนึ่งของแถบดาวเคราะห์น้อยอยู่ในวัตถุขนาดใหญ่ 4 ชิ้น ได้แก่ ซีรีส4 เวสต้า2 พัลลัส และ 10 ไฮเจีย ทั้งสี่ชิ้นนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 400 กิโลเมตร สำหรับซีรีสซึ่งถือเป็นดาวเคราะห์แคระเพียงดวงเดียวในแถบดาวเคราะห์น้อย มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 950 กิโลเมตร[1][2][3][4] ส่วนที่เหลือมีขนาดลดหลั่นกันลงไปจนถึงเศษฝุ่น ชิ้นส่วนในแถบดาวเคราะห์น้อยกระจายอยู่อย่างเบาบางจนกระทั่งยานอวกาศหลายลำสามารถแล่นผ่านไปได้โดยไม่ชนกับอะไรเลย นอกจากนั้น ชิ้นส่วนดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ยังแตกสลายลง เกิดเป็นกลุ่มตระกูลดาวเคราะห์น้อยที่มีองค์ประกอบธาตุและวงโคจรใกล้เคียงกัน การแตกสลายทำให้เกิดเศษฝุ่นละเอียดขึ้นซึ่งกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดแสงในแนวจักรราศี ดาวเคราะห์น้อยแต่ละชิ้นในแถบดาวเคราะห์น้อยจะจัดแบ่งกลุ่มโดยแยกตามการสะท้อนแสง โดยหลักแล้วมีสามกลุ่มได้แก่ กลุ่มคาร์บอน (C-type) กลุ่มซิลิกา (S-type) และกลุ่มโลหะ (M-type)
แถบดาวเคราะห์น้อยเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของเนบิวลาระบบสุริยะในยุคเริ่มต้น ซึ่งเตรียมจะก่อตัวขึ้นเป็นดาวเคราะห์ แต่เนื่องจากตกอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี แรงโน้มถ่วงขนาดสูงของดาวเคราะห์ยักษ์ทำให้ชิ้นส่วนกำเนิดดาวเคราะห์มีพลังงานในการโคจรสูงเกินไปจนไม่สามารถรวมตัวกันขึ้นเป็นดาวเคราะห์ได้ นอกจากนี้ยังเกิดการกระทบอย่างรุนแรง ซึ่งแทนที่ชิ้นส่วนเหล่านั้นจะรวมเข้าด้วยกัน กลับยิ่งแตกกระจัดกระจาย ด้วยเหตุนี้มวลส่วนใหญ่ในแถบดาวเคราะห์น้อยจึงมลายหายไปนับแต่ยุคเริ่มต้นของระบบสุริยะ บางชิ้นส่วนอาจหลุดรอดเข้ามายังระบบสุริยะชั้นในและพุ่งเข้าชนดาวเคราะห์ชั้นในกลายเป็นสะเก็ดดาว วงโคจรของแถบดาวเคราะห์น้อยยังคงถูกรบกวนอยู่เสมอ ในบางครั้งวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของมันบังเอิญไปสอดคล้องกับวงโคจรของดาวพฤหัสบดี ทำให้ชิ้นส่วนจำนวนหนึ่งถูกพัดพาข้ามช่องว่างเคิร์กวูดไปยังวงโคจรอีกระดับหนึ่ง

ดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่ในแถบหลักมีค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรต่ำกว่า 0.4 และมีความเอียงของวงโคจรน้อยกว่า 30° โดยที่มีค่าการกระจายตัวสูงสุดของความเยื้องศูนย์กลางประมาณ 0.07 และการกระจายของความเอียงวงโคจรไม่ถึง 4°[36] ดังนั้น แม้ดาวเคราะห์น้อยโดยทั่วไปจะมีวงโคจรค่อนข้างเป็นวงกลมและอยู่ในระนาบใกล้เคียงกับระนาบของดาวเคราะห์ แต่ก็อาจมีวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยบางดวงที่บิดเบี้ยวออกไปมาก หรือเคลื่อนตัวออกไปไกลจากระนาบนี้
ในบางครั้ง คำว่า "แถบหลัก" มักใช้อ้างถึงดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่ที่อยู่บริเวณ "แกนกลาง" ของกลุ่ม ซึ่งมีจำนวนดาวเคราะห์น้อยอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น ในกลุ่มของแถบหลักนี้มีค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรประมาณ 0.33 และความเอียงวงโคจรประมาณ 20° "แกนกลาง" ของกลุ่มดาวเคราะห์น้อยนี้เป็นศูนย์รวมของมวลมากกว่า 93.4% ของจำนวนดาวเคราะห์ขนาดเล็กในระบบสุริยะทั้งหมด[46]
การวัดรอบการหมุนของดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ในแถบหลักแสดงให้เห็นว่ามีเขตจำกัดล่างอยู่ ไม่มีดาวเคราะห์น้อยดวงใดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 100 เมตรจะมีคาบการหมุนรอบตัวเองต่ำกว่า 2.2 ชั่วโมงเลย สำหรับดาวเคราะห์น้อยที่มีคาบการหมุนเฉลี่ยเร็วกว่านี้ แรงเหวี่ยงที่พื้นผิวจะมีค่าสูงกว่าแรงโน้มถ่วง ทำให้วัตถุพื้นผิวที่ไม่ติดแน่นสามารถหลุดออกไปได้ อย่างไรก็ดี วัตถุที่เป็นของแข็งจะสามารถหมุนได้อย่างรวดเร็วกว่า จากเหตุผลนี้แสดงว่าดาวเคราะห์น้อยส่วนมากที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 100 เมตรมีองค์ประกอบค่อนข้างยืดหยุ่นอันเกิดจากการสะสมของเศษหินดินทราบที่ถมกันไว้จากการปะทะกันระหว่างดาวเคราะห์น้อย[47]

ที่มา



ตอบ. ข้อ 3.
อธิบาย -


ตอบ. ข้อ 4.


ตอบ. ข้อ 4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น