กิจกรรม 17 ธันวาคม




ตอบ. ข้อ 4.  ชั้น จ

สืบค้นและวิเคราะห์
สำหรับชั้นหินสรุปดังนี้ 
         1.หินอัคนี จาก หินหนืดที่แข็งตัวในเปลือกโลกเรียกว่า หินอัคนีแทรกซอนเช่นหินแกรนิต และจากลาวาที่ปะทุออกมาภายนอกผิวโลกเช่นภูเขาไฟ เรียกว่า หินอัคนีพุเช่นหินพัมมิช หินสคอเรีย 
         2.หินชั้นหรือหินตะกอน เกิดจากการสะสมหรือทับทมของเศษหิน ดิน ทราย นานเข้าถูกกดทับอัดมีตัวเชี่อมประสานปฏิกิริยาเคมีจนกลายเป็นหินในที่สุดเช่นหินกรวดมน หินทราย หินดินดาน หินปูน 
         3.หินแปร เป็นหินที่เกิดจากการแปรสภาพอันเนื่องมาจากความร้อนและความกดดันของโลกเช่นหินไนซ์แปรสภาพมาจากหินแกรนิต หินควอร์ตไซต์แปรสภาพมาจากหินทราย หินชนวนแปรสภาพมาจากหินดินดาน หินอ่อนแปรสภาพมาจากหินปูนครับ ส่วนรายละเอียดอื่นๆดูจากรูปภาพในความคิดเห็นที่ผ่านมาก็ได้ครับ






ตอบ. ข้อ2. แอมโมไนต์
อธิบาย -
แอมโมไนต์มีชีวิตอยู่ในทะเลในช่วง 240 – 65 ล้านปีก่อน จัดเป็นสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม มีการสร้างเปลือกทำด้วยแคลเซี่ยมคาร์บอเนตเช่นเดียวกับปลาหมึกโบราณ(Nautiloid)แต่มีวิวัฒนาการต่อเนื่องไป โดยวิวัฒนาการแตกแขนงออกเป็นเป็น 2 แบบคือ แบบแรกค่อยลดการมีเปลือกลง จนเป็นหมึกทะเลที่เราบริโภคในปัจจุบัน ส่วนแบบที่สอง เป็นกลุ่มที่สร้างเปลือกคล้ายหอย จะวิวัฒนาการเปลือกให้ม้วนงอเป็นวง จนมีรูปร่างเหมือนหอยฝาเดียว ซึ่งนิยมเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ี้ว่า Ammonite แต่ภายในยังคงสภาพการมีห้องอับเฉา(Septum) และมีท่อสูบฉีดน้ำ (Siphuncle) ช่วยควบคุมการดันน้ำเข้าเช่นเดียวกับหมึกทะเลโบราณ ทำให้สามารถเคลื่อนที่ได้หลายทิศทางเช่นเดียวกับเรือดำน้ำ นอกจากนี้ ยังมีท่อพ่นน้ำ (Siphon) พ่นน้ำออก จึงเคลื่อนได้เร็วในน้ำ
nautilus-pompilius.jpgnuatilus
ปัจจุบันนี้ยังมีลูกหลานเหลืออยู่ในธรรมชาติ คือ หอยงวงช้าง(Nautilus Shell) ซึ่งมีเปลือกเหมือนหอย แต่ส่วนหัวพัฒนาดีมากเหมือนหมึกทะเล

พวกเราได้สำรวจพบครั้งแรกปี 2548 บริเวณ เขาบ้านหาญ เปรียบเทียบลวดลายและชั้นหิน จากฟอสซิลดัชนีแล้ว สันนิษฐานว่า น่าจะอยู่ในยุคดีโวเนียน อายุประมาณ 354-417 ล้านปี
นอกจากนี้ ยังสำรวจพบแถบเขาหินปูนบางแห่ง สันนิษฐานว่า น่าจะอยู่ในยุคออร์โดวิเชียน อายุประมาณ 443-495 ล้านปี พบความต่างทางสปีชีส์ โดยเฉพาะลวดลายของเปลือกและการสร้างเปลือกซ้อนทับภายในที่แตกต่างกัน อีกทั้งความยาวของบริเวณหัวที่แตกต่างกันอีกด้วย
ที่มา



ตอบ. ข้อ 1. เคยเป็นทะเลมาก่อน ปัจจุบันเป็นบก
อธิบาย -
มหายุคอาร์เคียน (Archaean aeon)
          นับตั้งแต่ 4.6 – 2.5 พันล้านปีก่อน เป็นช่วงเวลาที่โลกเริ่มก่อตัวเป็นดาวเคราะห์ อุกกาบาตขนาดใหญ่พุ่งชนโลก เปลือกโลกยังไม่เสถียร เต็มไปด้วยภูเขาไฟพ่นก๊าซร้อนออกมา บรรยากาศเต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
           4,200 ล้านปีก่อน โลกเย็นตัวลง ไอน้ำควบแน่นทำให้เกิดฝน
           4,000 ล้านปีก่อน เกิดโมเลกุลของสิ่งมีชีวิต (RNA)
           3,800 ล้านปีก่อน หินตะกอนที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อยู่ที่เกาะกรีนแลนด์ในปัจจุบัน
           3,500 ล้านปีก่อน เกิดเซลล์ชนิดไม่มีนิวเคลียส (Prokaryotic cell)
           3,400 ล้านปีก่อน น้ำฝนตกขังบนแอ่งที่ต่ำกลายเป็นทะเล เกิดแบคทีเรียสังเคราะห์แสง (Cyanobacteria) และสโตรมาโทไลต์ (Stromatolites) ทำให้บรรยากาศเริ่มมีก๊าซออกซิเจน
           2,600 ล้านปี มีปริมาณน้ำในมหาสมุทรร้อยละ 90 เทียบกับปัจจุบัน

ที่มา


ตอบ. ข้อ 4.  ดวงจันทร์เมื่อสว่างที่สุด ดาวศุกร์เมื่อสว่างที่สุด ดาวซีรีอัส
อธิบาย -
ช่วงเวลากว่า 90% ของดาวฤกษ์จะใช้ไปในการเผาผลาญไฮโดรเจนเพื่อสร้างฮีเลียมด้วยปฏิกิริยาแรงดันสูงและอุณหภูมิสูงที่บริเวณใกล้แกนกลาง เรียกดาวฤกษ์เหล่านี้ว่าเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ในแถบลำดับหลักหรือดาวแคระ นับแต่ช่วงอายุเป็น 0 ในแถบลำดับหลัก สัดส่วนฮีเลียมในแกนกลางดาวจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ผลที่เกิดขึ้นตามมาเพื่อการรักษาอัตราการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นในแกนกลางคือ ดาวฤกษ์จะค่อย ๆ มีอุณหภูมิสูงขึ้นและความส่องสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[53]ตัวอย่างเช่น ดวงอาทิตย์มีค่าความส่องสว่างเพิ่มขึ้นนับจากเมื่อครั้งเข้าสู่แถบลำดับหลักครั้งแรกเมื่อ 4,600 ล้านปีก่อนราว 40%[54]
ดาวฤกษ์ทุกดวงจะสร้างลมดาวฤกษ์ ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคเล็ก ๆ ของแก๊สที่ไหลออกจากดาวฤกษ์ไปในห้วงอวกาศ โดยมากแล้วมวลที่สูญเสียไปจากลมดาวฤกษ์นี้ถือว่าน้อยมาก แต่ละปีดวงอาทิตย์จะสูญเสียมวลออกไปประมาณ 10-14 เท่ามวลดวงอาทิตย์[55] หรือคิดเป็นประมาณ 0.01% ของมวลทั้งหมดของมันตลอดช่วงอายุ แต่สำหรับดาวฤกษ์มวลมากอาจจะสูญเสียมวลไปราว 10−7 ถึง 10−5 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ต่อปี ซึ่งค่อนข้างส่งผลกระทบต่อวิวัฒนาการของตัวมันเอง[56] ดาวฤกษ์ที่มีมวลเริ่มต้นมากกว่า 50 เท่าของมวลดวงอาทิตย์อาจสูญเสียมวลออกไปราวครึ่งหนึ่งของมวลทั้งหมดตลอดช่วงเวลาที่อยู่ในแถบลำดับหลัก[57]
ตัวอย่างแสดงตำแหน่งของดาวฤกษ์ต่างๆ บนไดอะแกรมของเฮิร์ตสปรัง-รัสเซลล์ ดวงอาทิตย์อยู่บริเวณเกือบกึ่งกลางของแถบ (ดูเพิ่มใน การจัดประเภทดาวฤกษ์)
ระยะเวลาที่ดาวฤกษ์จะอยู่บนแถบลำดับหลักขึ้นอยู่กับมวลเชื้อเพลิงตั้งต้นกับอัตราเผาผลาญเชื้อเพลิงของดาวฤกษ์นั้นๆ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือมวลตั้งต้นและความส่องสว่างของดาวฤกษ์นั่นเอง สำหรับดวงอาทิตย์ ประมาณว่าจะอยู่บนแถบลำดับหลักประมาณ 1010 ปี ดาวฤกษ์ขนาดใหญ่จะเผาผลาญเชื้อเพลิงในอัตราเร็วมากและมีอายุสั้น ขณะที่ดาวฤกษ์ขนาดเล็ก (คือดาวแคระ) จะเผาผลาญเชื้อเพลิงในอัตราที่ช้ากว่าและสามารถอยู่บนแถบลำดับหลักได้นานหลายหมื่นหรือหลายแสนล้านปี ซึ่งในบั้นปลายของอายุ มันจะค่อย ๆ หรี่จางลงเรื่อย ๆ[2] อย่างไรก็ดี อายุของเอกภพที่ประมาณการไว้ในปัจจุบันอยู่ที่ 13,700 ล้านปี ดังนั้นจึงไม่อาจค้นพบดาวฤกษ์ดังที่กล่าวมานี้ได้
นอกเหนือจากมวล องค์ประกอบของธาตุหนักที่หนักกว่าฮีเลียมก็มีบทบาทสำคัญต่อวิวัฒนาการของดาวฤกษ์เช่นกัน ในทางดาราศาสตร์ ธาตุที่หนักกว่าฮีเลียมจะเรียกว่าเป็น "โลหะ" และความเข้มข้นทางเคมีของธาตุเหล่านี้จะเรียกว่า ค่าความเป็นโลหะ ค่านี้มีอิทธิพลต่อช่วงเวลาที่ดาวฤกษ์เผาผลาญเชื้อเพลิง รวมถึงควบคุมการกำเนิดสนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์[58] และมีผลต่อความเข้มของลมดาวฤกษ์ด้วย[59] ดาวฤกษ์ชนิดดารากร 2 ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่าจะมีค่าความเป็นโลหะน้อยกว่าดาวฤกษ์รุ่นใหม่ หรือดาวฤกษ์แบบดารากร 3 เนื่องมาจากองค์ประกอบที่มีอยู่ในเมฆโมเลกุลอันดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นมานั่นเอง ยิ่งเวลาผ่านไป เมฆเหล่านี้จะมีส่วนประกอบของธาตุหนักเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ เมื่อดาวฤกษ์เก่าแก่สิ้นอายุขับและส่งคืนสารประกอบภายในชั้นบรรยากาศของมันกลับไปในอวกาศ

ที่มา

ตอบ. ข้อ4.  เป็นปริมาณที่ไม่มีหน่วย
อธิบาย -
โชติมาตรสัมบูรณ์ (อังกฤษAbsolute magnitude,M) เป็นการวัดความสว่างที่แท้จริงของดาวฤกษ์ โดยจินตนาการให้ดาวฤกษ์นั้นอยู่ที่ระยะห่างจากโลกออกไป 10 พาร์เซก หรือ 32.616 ปีแสง โดยดาวที่ห่างไปจากโลก 10 พาร์เซก จะมีมุมแพรัลแลกซ์ เป็น 0.1 พิลิปดา
การวัดความสว่างของดาวฤกษ์อีกแบบคือโชติมาตรปรากฏซึ่งเป็นการวัดความสว่างของดาวบนท้องฟ้าเมื่อมองจากโลก
อย่างไรก็ตามแม้โชติมาตรปรากฏจะสามารถบอกอันดับความสว่างของดาวได้ แต่ก็ไม่สามารถบอกกำลังส่องสว่างที่แท้จริงของดาวฤกษ์ดวงนั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง ดาวฤกษ์ที่ปรากฏให้เห็นความสว่างยามค่ำคืนน้อยกว่า แท้จริงแล้วอาจมีกำลังส่องสว่างมากกว่าดาวที่ปรากฏสุกใสอยู่บนท้องฟ้าได้ ซึ่งเป็นเพราะดาวนั้นอยู่ไกลจากโลกออกไปมากนั่นเอง
ค่าของโชติมาตรสัมบูรณ์มีลักษณะเหมือนกับโชติมาตรปรากฏ คือ ดวงดาวที่มีอันดับความสว่างต่างกัน 5 อันดับ จะมีความสว่างต่างกัน 100 เท่า คือ ดวงดาวที่มีโชติมาตรสัมบูรณ์ต่างกัน 1 โชติมาตร จะมีความสว่างต่างกัน \sqrt[5]{100}\approx 2.512 เท่า

ที่มา

ตอบ. ข้อ 3. ค่าของดาวศุกร์น้อยกว่า
อธิบาย -
ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (Transit of Venus) เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ที่เกิดขึ้นเมื่อดาวศุกร์เคลื่อนที่ผ่านแนวเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ คนบนโลกจะเห็นดาวศุกร์เป็นดวงกลมดำขนาดเล็กเคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์ การผ่านหน้าคล้ายกับสุริยุปราคาที่เกิดจากดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์ ต่างกันตรงที่ดาวศุกร์อยู่ห่างจากโลกมากกว่าดวงจันทร์ (แม้ว่าจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า) เราจึงมองเห็นดาวศุกร์มีขนาดเล็กมาก ในอดีตนักดาราศาสตร์ใช้ปรากฏการณ์นี้ในการวัดระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์โดยอาศัยการเกิดแพรัลแลกซ์
เจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่ได้คำนวณและสังเกตเห็นการเคลื่อนตัวในวงโคจรของดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ดังกล่าวเมื่อเวลาตั้งแต่ 15.15 น. จนดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2182[1]

ที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น