กิจกรรม 12 พฤศจิกายน 2553

ส่งงาน



ตอบ. ข้อ 2  พม่า
แนวรอยเลื่อนต่างๆ ในกรณีประเทศไทยได้แก่ แนวรอยเลื่อนในประเทศเพื่อนบ้าน พม่า จีนตอนใต้ สาธารณรัฐประชาชนลาว และเวียตนาม แนวรอยเลื่อนภายในประเทศซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันตก แสดงดังรูปที่ 7 ทำให้บริเวณนี้มีความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวมากกว่าบริเวณภาคอื่นๆ ที่น่าสังเกตคือแนวรอยเลื่อนบางแห่งเท่านั้นมีความสัมพันธ์กับเกิดแผ่นดินไหว เช่น รอยเลื่อนแพร่ รอยเลื่อน แม่ทา รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนระนอง เป็นต้น ซึ่งในทางทฤษฎีถือว่าเป็นรอยเลื่อนที่มีพลังและเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวได้ในหลายขนาด ขึ้นอยู่กับความยาวของการเคลื่อนตัว








       รอยต่อของแผ่นธรณีภาค เมื่อพิจารณาแผนที่โลกปัจจุบัน จะพบว่าทวีปแต่ละทวีปมีรูปร่างต่างกัน
เมื่อนำแผ่นภาพแต่ละทวีปมาต่อกันจะเห็นว่ามีส่วนที่สามารถต่อกันได้พอดี ซึ่งเป็นเหตุผลที่สามารถตั้งเป็นสมมติฐานได้ว่า ทวีปทั้งสองอาจเป็นผืนแผ่นดินเดียวกันมาก่อน
       Dr.Alfred Wegener ได้ตั้งสมมติฐานว่าผืนแผ่นดินทั้งหมดบนโลกแต่เดิมเป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน เรียก ว่า พันเจีย(Pangaea)แปลว่าแผ่นดินทั้งหมดเมื่อประมาณ 200 ล้านปีที่แล้ว พันเจียเริ่มแยกออกเป็นทวีปใหญ่ 2 ทวีป คือ ลอเรนเซียทางตอนเหนือ และกอนด์วานาแลนด์ทางตอนใต้ โดยทวีปทางตอนใต้จะแตกและเคลื่อนแยกจากกันเป็น อินเดีย อเมริกาใต้ และแอฟริกา ในขณะที่ออสเตรเลียยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกอนด์วานา จนเมื่อประมาณ 65 ล้านปีที่ผ่านมา มหาสมุทรแอตแลนติกแยกตัวกว้างขึ้นทำให้แอฟริกาเคลื่อนที่ห่างออกไปจากอเมริกาใต้ และอเมริกาเหนือกับยุโรปก็ยังคงต่อเนื่องกัน ต่อมามหาสมุทรแอตแลนติกขยายกว้างขึ้นอีก อเมริกาเหนือและยุโรปจึงแยกจากกัน อเมริกาเหนือโค้งเว้าเข้าเชื่อมกับอเมริกาใต้ ออสเตรเลียแยกออกจากแอนตาร์กติกา และอินเดียได้เคลื่อนไปชนกับเอเชียจนเกิดเป็นภูเขา หิมาลัย และเป็นแผ่นดิน มหาสมุทรในปัจจุบัน

ภูเขาไฟมีพลัง (active volcano) หมายถึง ภูเขาไฟที่มีการระเบิดค่อนข้างถี่ และอาจจะระเบิดอีก โดยมีประวัติการระเบิดไม่เกิน 10,000 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันนี้ทั่วโลกยังภูเขาไฟที่มีพลังอยู่ประมาณ 1,300 ลูก เป็นภูเขาไฟที่เคยมีประวัติถูกบันทึกว่ามีการระเบิดเกิดขึ้น จัดว่าเป็นภูเขาไฟยังมีพลังอยู่ เช่น ภูเขาไฟเอตนา(Mount Etna) ตั้งอยู่ในประเทศอิตาลีบนเกาะซิชิลี ห่างจากเมืองกาตาเนียเพียง 29 กิโลเมตร เป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป มีความสูง 3,323 เมตร วัดฐานโดยรอบได้ 150 เมตร บนยอดมีหิมะปกคลุมปีละเก้าเดือน






ตอบ. ข้อ1  ดาวฤกษ์ทุกดวงมีขนาดใกล้เคียงกัน

พบว่าดาวฤกษ์จะไม่อยู่เดี่ยวๆ แต่จะอยู่กันเป็นหมู่ๆ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าดาวฤกษ์เหล่านั้นก่อเกิดมาจากมวลของสสารระหว่างดวงดาวกลุ่มเดียวกันที่เกิดจากการควบแน่นเป็นแท่งๆ ทำให้ขาดออกจากกันเป็นลูกๆ และในที่สุดก็เป็นดาวฤกษ์หลายดวงขึ้นมา ดาวฤกษ์ทุกดวงในหมู่เดียวกันจะมีอายุใกล้เคียงกันมากจนเกือบจะเท่ากันและโคจรไปในห้วงอวกาศด้วยความเร็วที่เท่ากัน หมู่ดาวฤกษ์มี 2 ประเภท ประเภทหนึ่งเป็นหมู่ดาวฤกษ์ที่ก่อเกิดมาจากการรวมหมู่ดาวฤกษ์น้อยใหญ่เข้าด้วยกันแต่ดาวฤกษ์เหล่านั้นยังอยู่กันห่างๆ พวกนี้เรียกว่า หมู่ดาวเปิด ส่วนอีกประเภทหนึ่งก่อเกิดมาจากการรวมหมู่ดาวฤกษ์น้อยใหญ่นับพันๆ ดวงเข้าด้วยกัน แต่ดาวเหล่นนั้นอยู่ชิดกันมากจนเกิดเป็นหมู่ดาวรูปทรงกลมขึ้น พวกนี้เรียกว่า หมู่ดาวทรงกลม
แม้ว่าในทางทฤษฎี  ดาวฤกษ์ต่าง ๆ  ก็ล้วนแต่เหมือน    กันทั้งนั้น   แต่สิ่งที่ทำให้มันดูต่างกันก็คืออายุ  ขนาด  และวิวัฒนาการ  ดังนั้น  จึงสามารถจัดเป็นประเภท ๆ  ได้ตามที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นจะสามารถสังเกตการณ์ดาวฤกษ์ต่าง ๆ  เหล่านั้นได้ด้วยการใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก  ประเภทของดาวฤกษ์ที่สำคัญ  ได้แก่   ดับเบิลสตาร์   แวริเบิลสตาร์  โนวา  ซูเปอร์โนวา  พัลซาร์  และ  ควาซาร์





ตอบ ข้อ.2  มีมวลประมาณ 50 % ของมวลระบบสุริยะ

ตามการศึกษาแบบจำลองคอมพิวเตอร์ว่าด้วยวัฏจักรดาวฤกษ์ นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่าดวงอาทิตย์มีอายุประมาณ 4,570 ล้านปี ในขณะนี้ดวงอาทิตย์กำลังอยู่ในลำดับหลัก ทำการหลอมไฮโดรเจนให้เป็นฮีเลียม โดยทุกๆ วินาที มวลสารของดวงอาทิตย์มากกว่า 4 ล้านตันถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน ดวงอาทิตย์ใช้เวลาโดยประมาณ 1 หมื่นล้านปีในการดำรงอยู่ในลำดับหลัก
เมื่อไฮโดรเจนซึ่งเป็นเชื้อเพลิงของดวงอาทิตย์หมดลง วาระสุดท้ายของดวงอาทิตย์ก็มาถึง (คือการพ้นไปจากลำดับหลัก) โดยดวงอาทิตย์จะเริ่มพบกับจุดจบคือการแปรเปลี่ยนไปเป็นดาวยักษ์แดงภายใน 4-5 พันล้านปี ผิวนอกของดวงอาทิตย์ขยายตัวออกไป ส่วนแกนนั้นยุบตัวลงและร้อนขึ้นสลับกับเย็นลง มีการหลอมฮีเลียมเป็นคาร์บอนและออกซิเจนที่อุณหภูมิราว 100 ล้านเคลวิน จากสถานการณ์ข้างต้นดูเหมือนว่าดวงอาทิตย์จะกลืนกินโลกให้หลอมลงไปเป็นเนื้อเดียวกัน แต่จากรายงานวิจัยฉบับหนึ่งได้ศึกษาพบว่าวงโคจรของโลกจะตีตัวออกห่างดวงอาทิตย์เพราะมวลของดวงอาทิตย์ได้สูญเสียไป จนแรงดึงดูระหว่างมวลมีค่าลดลง แต่ถึงกระนั้น น้ำทะเลก็ถูกความร้อนจากดวงอาทิตย์เผาผลาญจนระเหยสิ้นไปในอวกาศ และบรรยากาศโลกก็อันตรธาน
ไปจนไม่เอื้อแก่ชีวิต

หลังจากที่ดวงอาทิตย์ได้ผ่านสภาพการเป็นดาวยักษ์แดงแล้ว อุณหภูมิจากปฏิกิริยาการหลอมฮีเลียมที่เพิ่มสลับกับลงภายในแกน ก็จะเป็นตัวการให้ผิวดวงอาทิตย์ด้านนอกผละตัวออกจากแกน เกิดเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์แล้วอันตรธานไปในความมืดมิดของอวกาศ และเป็นวัสดุสำหรับสร้างดาวฤกษ์และระบบสุริยะรุ่นถัดไป ส่วนแกนที่เหลืออยู่ก็จะกลายเป็นดาวแคระขาวที่ร้อนจัดและมีแสงจางมาก ก่อนจะดับลงกลายเป็นดาวแคระดำ จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือชีวิตของดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยถึงปานกลาง





ตอบ ข้อ.2  ขึ้น 15 ค่ำ

สุริยุปราคาวงแหวน  วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พศ. 2553
      ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เป็นสุริยุปราคาแบบวงแหวน
 เนื่องจากขนาดกว้างเชิงมุมของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ต่างกันเล็กน้อย โลกพึ่งจะผ่านตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเมื่อวันที่ 2 มค. ทำให้ดวงอาทิตย์มีขนาดความกว้างเชิงมุมใหญ่ขึ้นเป็น 33 arcmin และประกอบกับวันที่ 16 มค.ดวงจันทร์จะมาอยู่ในตำแหน่งไกลจากโลกที่สุดทำให้ขนาดเชิงมุมของดวงจันทร์เล็กลงเหลือ 30 arcmin ทำให้เกิดการบังกันไม่หมด เหลือขอบนอกของดวงอาทิตย์เป็นลักษณะวงแหวน
      ปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวนในครั้งนี้เริ่มต้นทางตอนกลางของทวีปอาฟริกา ผ่านเข้ามหาสมุทรอินเดีย  ผ่านตอนใต้ของประเทศอินเดีย เข้าพม่าและไปสิ้นสุดที่ประเทศจีน โดยมีจุดศูนย์กลางการเกิดสุริยุปราคาวงแหวนอยู่กลางมหาสมุทรอินเดีย ห่างจากชายฝั่งประเทศอินเดียราว 1,200 กิโลเมตร เกิดแนวมืดกว้างราว 333 กิโลเมตร พาดยาว 12,900 กิโลเมตรเกือบครึ่งโลก เริ่มตั้งแต่เวลา 05.14
UT สิ้นสุดที่เวลา 08.59UT กินเวลานานทั้งสิ้น 3 ชั่วโมง 45 นาที โดยอยู่ในช่วงเป็นวงแหวนอยู่นาน 11 นาที 7.9 วินาที  ซึ่งสุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้เป็นครั้งที่ 23 ของการหวนกลับมาของอุปราคา หรือที่เรียกว่า ซารอส(Saros) ลำดับที่ 141













2 ความคิดเห็น: